นายอินทปัตร บุญทวี
ปลัดเทศบาล 053-489406-7 ต่อ 31
ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลแม่วาง เดิมเป็นสุขาภิบาลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2523 ต่อมา ได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาล เป็น เทศบาล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 และได้เปลี่ยนชื่อจาก เทศบาลตำบลบ้านกาด เป็น เทศบาลตำบลแม่วาง เมื่อปี พ.ศ. 2550<
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลแม่วาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 108 (ถนนเชียงใหม่ – ฮอด) และแยกไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1013 (ถนนสายสันป่าตอง – แม่วาง – แม่วิน) ระยะทางห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ 30 กิโลเมตรอาณาเขต
เทศบาลตำบลแม่วาง ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านและตำบลในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ตำบล
|
3
|
บ้านกิ่วแลป่าเป้า
|
บ้านกาด
|
4
|
บ้านมะกายยอน
|
บ้านกาด
|
5
|
บ้านกาด
|
บ้านกาด
|
6
|
บ้านน้ำต้น
|
บ้านกาด
|
8
|
บ้านอัมพาราม
|
บ้านกาด
|
3
|
บ้านสันโป่ง
|
ดอนเปา
|
4
|
บ้านดอนเปา
|
ดอนเปา
|
5
|
บ้านป่าติ้ว
|
ดอนเปา
|
ประชากรและจำนวนหลังคาเรือน
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง รวม 4,836 คน แยกเป็น
- ชาย 2,294 คน
- หญิง 2,542 คน
ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ คิดเป็น 1,051.31 คน ต่อตารางกิโลเมตร
ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง
พื้นที่
|
จำนวนประชากร
|
ชาย
|
หญิง
|
ตำบลบ้านกาด
|
|
|
|
หมู่ที่ 3
|
704
|
336
|
368
|
หมู่ที่ 4
|
217
|
94
|
123
|
หมู่ที่ 5
|
1,054
|
501
|
553
|
หมู่ที่ 6
|
295
|
141
|
154
|
หมู่ที่ 8
|
594
|
269
|
325
|
ตำบลดอนเปา
|
|
|
|
หมู่ที่ 3
|
684
|
330
|
354
|
หมู่ที่ 4
|
974
|
478
|
496
|
หมู่ที่ 5
|
314
|
145
|
169
|
จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง
มีทั้งหมด 1,776 ครัวเรือน โดยแยกได้ ดังนี้
ตำบล
|
หมู่ที่
|
จำนวนครัวเรือน
|
บ้านกาด
|
3
|
220
|
|
4
|
74
|
|
5
|
411
|
|
6
|
105
|
|
8
|
192
|
ดอนเปา
|
3
|
233
|
|
4
|
444
|
|
5
|
97
|
รวม
|
8
|
1,776
|
ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลแม่วางมีพื้นที่ทั้งหมด 4.6 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 600 – 800 มิลลิเมตร
ฤดูร้อน ประมาณเดือน มีนาคม – พฤษภาคม
ฤดูฝน ประมาณเดือน มิถุนายน – กันยายน (ฝนตกชุก ระหว่างเดือน สิงหาคม – กันยายน)
ฤดูหนาว ประมาณเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์
เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ประชากรร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างสภาพการถือครองที่ดิน เกษตรมีที่ดินเป็นของตนเองในการเกษตรกรรมร้อยละ 60
โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง ใช้เส้นทางคมนาคมได้ทางเดียว คือ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1013 (ถนนสันป่าตอง – แม่วาง – แม่วิน) สำหรับการคมนาคมระหว่างอำเภอและจังหวัดนั้น อาศัยรถโดยสารขนาดเล็กวิ่งรับ-ส่งผู้โดยสาร
การไฟฟ้า
ไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าอำเภอ สันป่าตอง บางถนน และบางซอยยังไม่มีเสาไฟฟ้า และแสงสว่างในที่สาธารณะเพียงพอการใช้
ไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง มีดังนี้
จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้านั้นใช้ทุกครัวเรือน
ไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
การประปา
การประปาในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง มีการใช้ประปาทุกครัวเรือน โดยมีประปา ส่วนภูมิภาคและประปาหมู่บ้าน
การสื่อสาร
- การไปรษณีย์โทรเลข ในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
จำนวน 1 แห่ง คือที่ ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่วาง ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- โทรศัพท์สาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะมีทุกหมู่บ้าน
การใช้ที่ดิน
เทศบาลตำบลแม่วาง มีพื้นที่ ทั้งหมด 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ ตามการใช้ ดังนี้
1. พื้นที่ถือครองเพื่ออยู่อาศัย 300.80 ไร่ คิดเป็น 10.46 %
2. พื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 2,290.30 ไรคิดเป็น 79.66 %
3. พื้นที่ถือครองเพื่อพาณิชยกรรม 5.78 ไร่ คิดเป็น 0.20 %
4. พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ 20.74 ไร่ คิดเป็น 7.30 %
5. พื้นที่ว่าง 21.34 ไร่ คิดเป็น 0.74 %
6. ศาสนสถาน 47.04 ไร่ คิดเป็น 1.64%
การจราจร
การจราจรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาล จะใช้ถนนสายสันป่าตอง – แม่วาง – แม่วิน เป็นหลัก แต่ถนนค่อนข้างแคบ
ด้านเศรษฐกิจ
การเกษตร
เกษตรกรจะปลูกข้าวเพื่อบริโภค พื้นที่ลุ่มสามารถปลูกข้าวได้ทั้งนาปีและ นาปรัง หอมหัวใหญ่ เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูก เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกที่จะสร้างรายได้ให้แก่ เกษตรกรเป็นจำนวนมาก แม้จะประสบปัญหาในเรื่องราคา และเมล็ดพันธุ์ในบางปี การจำหน่ายส่วนใหญ่ผ่านกลุ่มสหกรณ์
ในด้านกระบวนการผลิต เกษตรกรได้นำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการผลิต มีหน่วยงานของรัฐ และเอกชนในการสนับสนุนในด้านการตลาด มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเพื่อ ต่อรองราคาในตลาด การอุตสาหกรรม
เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดเล็ก เช่น โรงสีข้าว โรงงานเฟอร์นิเจอร์ และ การทำเครื่องเงินต่าง
การพาณิชย์
ร้านค้าต่าง ๆ69ร้าน
ธนาคาร1แห่ง
โรงสีข้าว3แห่ง
โรงฆ่าสัตว์1แห่ง
ตลาด3แห่ง
สถานที่จำหน่ายยา3แห่ง
ร้านเสริมสวย5แห่ง
ด้านสังคม
ชุมชน มีหมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน จำนวนประชากรในชุมชน รวม 4,836 คนศาสนา
ประชากรเทศบาลตำบลแม่วาง มีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ แยกเป็นดังนี้ศาสนาพุทธ ประมาณ 100 % ศาสนาอื่น ๆ ประมาณ - %
ศาสนสถานในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง มี 6 แห่ง ดังนี้
- วัดดอนเปา
- วัดอัมพาราม
- วัดจำลอง
- วัดป่าแดด
- วัดศิริชัยนิมิตร
- วัดสังคะยอม
- วัดชัยมงคล
- วัดศรีจองคำ
- วัดสันมหาพล
วัฒนธรรม
เทศบาลตำบลแม่วาง มีประเพณีที่สำคัญดังนี้
ประเพณีวันออกพรรษาวัดจำลอง
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดป่าแดด
ประเพณีปอยส่างลอง
ประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด
ประเพณีแห่งไม้ค้ำ
การศึกษา
ในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง มีศูนย์พัฒนาก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ดังนี้
- มีโรงเรียนมัธยมจำนวน 1 โรง คือ โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม
- มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 โรง คือ
1. โรงเรียนบ้านกาดเขมวังส์ ฯ
2. โรงเรียนวัดศิริชัยนิมิตร
3. โรงเรียนเทศบาลวัดดอนเปา
- มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 ศูนย์ คือ
1. วัดป่าแดด
2. วัดดอนเปา
- มีศูนย์พัฒนาก่อนวัยเรียน (ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ของกรมศาสนา) จำนวน 2 ศูนย์ คือ
1. วัดจำลอง (ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบ้านกาด(เขมวังส)์)
2. วัดศิริชัยนิมิตร
กีฬา นันทนาการ และการพักผ่อน
ในเขตเทศบาลตำบลแม่วาง มีสถานที่เล่นกีฬา นันทนาการและพักผ่อน ดังนี้
1. สนามกีฬาอเนกประสงค จำนวน 6 แห่ง
2. สนามฟุตบอล จำนวน 2 แห่ง
3. สนามบาสเกตบอล จำนวน 4 แห่ง
4. สนามตระกร้อ จำนวน 6 แห่ง
5. ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง
6. สนามเด็กเล่น จำนวน 1 แห่ง
7. สาธารณสุข
7.1 ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
7.2 คลินิกเอกชน จำนวน 1 แห่ง
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี (1 มกราคม 2552 – 31 ธันวาคม 2552 ) จำนวน ครั้ง
ความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจากเหตุเหลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า - บาท
รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน จุน้ำได้ 10,000 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2548
รถบรรทุกน้ำ จำนวน 3 คัน จุน้ำได้ 5,000 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2535
เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 1 เครื่อง
การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัยปีที่ผ่านมา จำนวน 2 ครั้ง
แหล่งน้ำ
คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 4 แห่ง คือ
1. ลำเหมืองกลาง
2. ลำเหมืองแพะ
3. ลำเหมืองเตา
4. ลำเหมืองบน
ขยะ
ปริมาณขยะ 3 ตัน ต่อวัน
รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ จำนวน 2 คัน จุได้คันละ 10 ลบ. เมตร